วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โน้ตบุ๊คข้อมูลสูญหาย กู้คืนได้อย่างไร




โดยส่วนใหญ่ถ้าคุณลบข้อมูลในโน้ตบุ๊คของคุณ ข้อมูลเหล่านี้ก็จะย้ายไปอยู่ใน Recycle Bin แต่ถ้าคุณลบข้อมูลใน Recycle Bin ไปแล้วล่ะคุณจะมีวิธีไหนที่สามารถเอาข้อมูลที่ต้องการกลับคืนมาได้

แหล่งจัดเก็บข้อมูลภายในเครื่อง
เมื่อคุณทำงานเสร็จ และคุณจะเซฟข้อมูล ระบบก็จะให้เลือกแหล่งที่เก็บข้อมูลให้คุณอัตโนมัติ ทำให้สะดวกต่อการค้นหา ถ้าหากว่าคุณต้องการค้าหาหรือกู้ข้อมูลก็จะสามารถหาไฟล์ต่างๆ ได้จากแหล่งเก็บข้อมูลอัตโนมัติเหล่านี้ได้
My Documents
เก็บไฟล์เอกสารพวก Office เช่น Word, Excel และ PowerPoint เป็นต้น

Download
เป็นไฟล์ที่คุณดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ตจากโปรแกรมต่างๆ เช่น uTorrent, BitComet

My Pictures
เก็บไฟล์รูปต่างๆใว้ในเครื่อง รวมทั้งภาพตัวอย่างของทาง Windows

โฟลเดอร์จัดเก็บข้อมูล
โฟลเดอร์ที่คุณจัดเก็บข้อมูล ส่วนมากจะสร้างใวว้อีกพาร์ติชันที่ไม่ได้เป็นพาร์ติชันสำหรับลงโปรแกรมเพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย เพราะถ้าคุณติดตั้ง Windows ใหม่ก็จะทำให้ข้อมูลเหล่านี้หายไปด้วย

ปัญหาที่มักทำให้ข้อมูลหายบ่อย
ปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลสูญหาย ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่พบได้บ่อยสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ไม่เฉพาะแต่กลุ่มผู้ใช้โน้ตบุ๊คเท่านั้น หากแต่ผู้ใช้เดสก์ทอปก็ยังประสบปัญหาแบบเดียวกัน ซึ่งต้นเหตุของปัญหาข้อมูลสูญหายก็มักจากหัวข้อดังต่อไปนี้

เผลอลบข้อมูลใน Recycle Bin โดยไม่ได้ตั้งใจ
Recycle Bin จะทำตัวคล้ายๆ กับถังขยะที่คุณใส่ไฟล์ที่ไม่ต้องการใช้งานแล้ว และลบทิ้งไป แต่ถ้าคุณต้องการจะนำไฟล์นั้นกลับมาใช้ใหม่ก็สามารถกู้คืนได้
ลักษณะการทำงานของ Recycle Bin
เมื่อคุณลบข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบจะถามว่าคุณต้องการจะส่งไฟล์เหล่านี้ไปยัง Recycle Bin หรือไม่ ถ้าคุณคลิกปุ่ม Yes ระบบก็จะส่งไฟล์เหล่านั้นไปยัง Recycle Bin ทันที


เมื่อคุณมาเปิดที่ Recycle Bin ก็พบกับไฟล์ที่ได้ลบออกไป แต่ถ้าคุณต้องการนำไฟล์นั้นกลับคืนมา ก็สามารถทำได้ง่ายๆดังนี้
1. เลือกไฟล์ที่ต้องการกู้คืน
2. คลิกปุ่ม Restore the selected items
3. ไฟล์เหล่านี้ก็จะกลับสู่เครื่องคุณตามเดิม

ต้องการเครียร์ข้อมูลในถังขยะจนหมดทำได้ง่าย
1. คลิกปุ่ม Empty the Recycle Bin
2. ระบบก็จะถามว่าต้องการที่จะลบไฟล์เหล่านี้ออกจากระบบหรือไม่ ถ้าต้องให้คลิกปุ่ม Yes
ในกรณีที่คุณคลิกปุ่ม Yes ไปแล้ว ไฟล์เหล่านั้นก็ไม่สามารถจะกู้คืนจากในถังขยะได้อีกแล้ว ซึ่งถ้าคุณต้องการไฟล์ข้อมูลเหล่านั้นคืน คุณก็ต้องใช้ โปรแกรม EasyRecovery ในการกู้ข้อมูล

ไฟล์ระบบเสียหาย
เมื่อคุณใช้ Windows XP ไปสักระยะ อาจจะมีไฟล์ระบบของ Windows เสียหาย เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น ไวรัส การติดตั้งหรือถอนโปรแกรมบางตัวก็อาจจะดกี่ยวข้องกับไฟล์ระบบเหมือนกัน หากเครื่องยังสามารถเข้าใช้งานได้ตามปกติก็ทำการซ่อมแซมไฟล์ระบบดังนี้
1. คลิกปุ่ม Start > Run แล้วพิมพ์คำสั่ง cmd
2. คลิกปุ่ม OK
3. ที่หน้าจอ Command Prompt ให้พิมพ์คำสั่ง e:\i386\winnt32 /unattend
4.  เข้าสู่หน้าจอการซ่อมแซมไฟล์ Windows
วิธีนี้ข้อมูลต่างๆ จะอยู่เหมือนเดิมไม่หายไปไหน ไม่ว่าคุณจะลงโปรแกรมอะไรไว้ก็ยังมีค่าเหมือนเดิมทุกประการ มีอีกวิธีที่สามารถทำได้โดยแถมมากับระบบ Windows ทุกเวอร์ชันไม่ต้องใช้แผ่น Windows เรียกว่า System Restore

กู้ข้อมูลด้วยตัวเอง
ปัญหาไฟล์หาย ไฟล์ถูกลบทิ้งโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยเฉพาะถ้าไฟล์เหล่านั้นเป็นไฟล์งานก็คงเสียเวลาไม่น้อยกับการสร้างหรือทำขึ้นมาใหม่ คุณลองมาใช้เจ้าโปรแกรม EasyRecovery ว่าจะสามารถช้วยอะไรคุณได้บ้าง
สิ่งที่ควรทำเมื่อพบไฟล์ที่สำคัญถูกลบ
ก่อนจะไปรู้วิธีการกู้ไฟล์ คุณควรทำความเข้าใจอะไรบางอย่างกันก่อน อย่างน้อยก็จะทำให้ข้อมูลที่คุณกู้ขึ้นมาได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
1. ห้ามเซฟไฟล์ใดๆ ลงบนฮาร์ดดิสก์หรือแฟรชไดรว์ที่ต้องการกู้ไฟล์ทันที
2. หลังจากไฟล์หายไม่ว่าจะเป็นการลบทิ้งหรือฟอร์แมตคือ เมื่อคุณสั่งลบไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นทิ้งไป บางคนอาจจะคิดว่าถูกลบทิ้งไปแล้วจริงๆ แต่ความจริงแล้วระบบปฏิบัติการจะเพียงแค่มาร์คไว้เฉยๆ งว่าพื้นที่ตรงนั้นว่าง ถ้าคุณไม่ได้เขียนไฟล์ใหม่ก็มีโอกาศที่จะกู้ข้อมูลได้เกือน 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ในกรณีที่คุณได้เซฟไฟล์ใหม่ลงไป โอกาศในการกู้คืนได้ก็มีน้อยลง เพราะการจัดเก็บไฟล์ด้วยระบบปฏิบัติการลงบนตำแหน่งต่างๆ ของฮาร์ดดิสก์หรือแฟรชไดรว์จะเป็นการสุ่ม ตรงไหนมีพื้นที่ว่างก็จะเก็บไฟล์ไว้ตรงนั้น


จัดการไวรัสโน้ตบุ๊คให้อยู่หมัด



ปัญหาของโน้ตบุ๊คอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คือ เจ้าไวรัสตัวแสบที่คอยก่อกวนปัญหาให้เราไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นเราจึงควรรู้จักวิธีป้องกันเจ้าไวรัสตัวแสบพวกนี้ ก่อนที่จะมาทำลายโน้ตบุ๊คของเราได้

ป้องกันไวรัสดีกกว่าแก้
ไวรัสคอมพิวเตอร์สามารถเข้าสู่โน้ตบุ๊คของเราได้หลายช่องทาง เช่น แฟรชไดรว์หรืออินเตอร์เน็ตซึ่งเราจะไม่ทราบเลยว่าไวรัสพวกนี้จะมาเมื่อไร ถ้าเราไม่ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสเอาใว้
ดังนั้นเราควรติดตั้งโปรแกรมเอาใว้ก่อนที่ไวรัสจะเข้าเครื่อง เพราะถ้าไวรัสได้เข้ามาแล้วก็เอาทำให้ข้อมูลเสียหายได้ หรือไม่ก็อาจทำให้ต้องลง Windows ใหม่เลยก็ได้ ซึ่งอาจจะทำให้เราต้องเสียเวลา

โปรแกรมป้องกันไวรัส Avira
โดยความสามารถของเจ้าร่มแดงเป็นโปรแกรมที่สามารถจำกัดมัลแวร์ได้หลายชนิดสามารถเลือกที่จะสแกนทั้งหมด หรือเลือกสแกนไดรว์ที่เราสงสัยว่าเป็นไวรัสได้ รวมทั้งสามารถอัพเดทโปรแกรมให้ทันกับไวรัสตัวใหม่ๆได้อีกด้วยซึ่งตัวโปรแกรมนั้นสามารถดาวน์โหลดได้ที่ โหลดโปรแกรม Avira โหลดเสร็จแล้วก็ติดตั้งตามปกติ

อัพเดตโปรแกรม Avira ให้ทันสมัย
เมื่อเราใช้ โปรแกรม Avira ไปสักระยะหนึ่ง เราควรอัพเดตข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อให้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสของเราสามารถตรวจจับไวรัสชนิดใหม่ๆ ได้ เพราะสมัยนี้ไวรัสเกิดขึ้นมาใหม่แทบทุกวัน

ป้องกันไวรัสจากแฟรชไดรว์
การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราติดไวรัส ส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากแฟรชไดรว์เป็นส่วนมากเนื่องจากอุปกรณ์จำพวกนี้สามารถบันทึกข้อมูลค่อนข้างง่ายจึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้เป็นพาหะสำคัญในการนำไวรัสมาติดยังเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ดังนั้นผู้เขียนจึงขอนำเสนอวิธีป้องกันไวรัสจากแฟรชไดรว์ดังต่อไปนี้

วิธีการปิด Autorun เพื่อป้องกันไวรัส
การปิด Autorun ก็เป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันไวรัสจากแฟรชไดรว์ โดยปกติเมื่อมีการใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูล Windows จะเปิดการทำงานโดยอัตโนมัติ ส่งผลให้ไวรัสทำงานทันที แต่ถ้าเราปิด Autorun ก็จะทำให้ไวรัสไม่สามารถแพร่จากแฟรชไดรว์สู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้
1. คลิกปุ่ม Start > Run พิมพ์คำสั่ง gpedit.msc ลงในช่อง Open
2. คลิกปุ่ม OK
3. คลิกเลือก User Configuration > Administrative Templates > System
4. คลิกขวาที่คำว่า Turn off Autoplay
5. เลือกคำสั่ง Properties
6. ปรากฎหน้าต่าง Turn off Autoplay Properties
7. คลิกเลือก Enabled
8. คลิกเลือก All drives
9. คลิกปุ่ม OK

สารพัดปัญหาฮาร์ดิสก์ในโน้ตบุ๊ค




ปัญหาที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่ จะส่งผลให้คุณไม่สามารถใช้งานโน้ตบุ๊คได้ เนื่องจากฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆ ทั้งไฟล์ติดตั้งระบบปฏิบัติการ ไฟล์สำคัญในการบุ๊ตเครื่อง ตลอดจนไฟล์ข้อมูลทุกอย่างเอาใว้
หากฮาร์ดดิสก์มีปัญหาจะทำให้ไม่สามารถใช้งานข้อมูลหรือไฟล์ใดๆ ได้อีก ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่ผุู้ใช้โน้ตบุ๊คพบแล้วสามารถแก้ไขตัวตัวเองได้ดีงนี้

มองไม่เห็นฮาร์ดดิสก์ เข้า Winfows ไม่ได้
เวลาเปิดเครื่องโน้ตบุ๊คของคุณ พบข้อความแจ้งว่า "DISK BOOT FAILURE, INSERT SYSTEM DISK AND PRESS ENTER" ซึ่งเมื่อคุณพยายามกดปุ่มใดๆ บนตัวเครื่องแล้ว จะพบว่ายังคงเจอปัญหาดังกล่าวอยู่เหมือนเดิม ไม่สามารถเข้าใช้งาน Windows ได้

ปัญหานี้มักเกิดจากการสลับการบู๊ต โดยที่ฮาร์ดดิสก์ไม่ได้อยู่ในลำดับแรกหรือลำดับต่อจากไดรว์ CD/DVD ส่งผลให้ไม่สามารถบู๊ตข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ได้ ซึ่งหากคุณพบปัญหาดังกล่าวให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. เมื่อเครื่องรีสตารืทให้กดปุ่ม <F2> หรือปุ่มใดๆเพื่อเข้าหน้าจอ Bios
2. กดปุ่ม <ลูกศรขวา> เพื่อเลือกเมนู Boot (หรือเมนู Boot Options)
3. กดปุ่ม <+> เพื่อปรับลำดับการบู๊ตให้เริ่มจากฮาร์ดดิสก์เป็นอันดับแรก
4. กดปุ่ม <ลูกศรขวา> เพื่อเลือกเมนู Exit
5. กดปุ่ม <Enter> เพื่อเลือกคำสั่ง Exit Saving Changes
6. เลือกคำสั่ง Yes
7. เครื่องรีสตาร์ทแล้วจะเริ่มบู๊ตที่ฮาร์ดดิสก์

ปัญหา Data Error Reading
          ปัญหาในข้อนี้จะทำให้คุณไม่สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลลงในฮาร์ดดิสก์ได้ เช่น เมื่อดับเบิลคลิกไดรว์ จะรอการโหลดนานมากจนเครื่องแฮงค์ หรือเมื่อต้องการเขียนข้อมูล (คัดลอกข้อมูลไปใส่) ก็พบว่าไม่สามารถวางข้อมูลได้ เมื่อพบปัญหาดังกล่าว ให้คุณแก้ไขตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.ดับเบิลคลิกที่ My Computer บนเดสก์ทอป
2. คลิกขวาบนไดรว์ที่ต้องการ
3. คลิกเลือก Properties
4. เลือกแท็บ Tools
5. เข้าหัวข้อ Error-Checking คลิกปุ่ม Check Now...
6. คลิกหน้า Automatically fix file system error
7. คลิกปุ่ม Start
8. คลิกที่ปุ่ม Yes เพื่อรีสตาร์ทเครื่อง 1 รอบ
9. หลักจากรีสตาร์ทเครื่อง จะมีการตรวจสอบความผิดพลาดของฮาร์ดดิสก์อัตโนมัติ (ใช้เวลาครู่หนึ่ง)

กรณี Check Disk ไม่ผ่าน
คุณควรที่จะสแกนฮาร์ดดิสก์อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อเป็นการตรวจสอบสุขภาพของฮาร์ดดิสก์ด้วยตัวเอง แต่หากสแกนฮาร์ดดิสก์ไม่ผ่านอาจเกิดจากโครงสร้างของฮาร์ดดิสก์เสียหาย ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาที่ว่ควรนำโน้ตบุ๊คส่งช่างช่อมทันที

Chkdsk แสดงเซคเตอร์เสีย (Bad Sector)
          Bad Sector คือสัญญาณเตือนภัยอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่องบางอย่างของฮาร์ดดิสก์ Bad Sector นั้นเกิดจากการชนหัวอ่าน (Cache) เพียงครั้งเดียว อาจจะทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนแผนดิสก์เพิ่มมากขึ้น หรือหากคุณใช้งานโปรแกรมต่างๆ อยู่แล้วเกิดอาการค้างไปเฉยๆ สาเหตุอาจเกิดจากการมี Bad Sector บนฮาร์ดดิสก์ก็เป็นไปได้

เสียบฮาร์ดดิสก์แบบ External แล้วมองไม่เห็น
ปัญหาต่อมาที่ผู้ใช้งานใช้โน้ตบุ๊คพบแล้วมักส่งเครื่องไปให้ร้านซ่อมจัดการคือ เมื่อเสีียบฮาร์ดดิสก์แบบ External หรือแฟรชไดรว์ แล้วปรากฏว่าไม่แสดงในหน้า My Computer ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ ปัญหานี้อาจเกิดจากการที่ตัวอักษรนำหน้าซ้ำซ้อนกัน ทำให้ระบบไม่สามารถมองเห็นฮาร์ดดิสก์ที่เสียบใหม่ได้ในการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาให้คุณปฏิบัติดังนี้
1. คลิกขวาที่ My Computer เลือก Manage
2. เลือก Disk Management
3. ตรวจสอบเบื้องต้นก่อนว่ามองเห็นฮาร์ดดิสก์ที่นำมาเชื่อมต่อหรือไม่
4. คลิกขวาที่ Drive External เลือกคำสั่ง Change Drive Letter and Paths...
5. คลิกปุ่ม Change เพื่อเปลี่ยนชื่อไดรว์ใหม่
6. เลือกไดรว์ที่ต้องการเปลี่ยน
7. คลิกปุ่ม Yes เพื่อยืนยันการเปลี่ยนชื่อไดรว์

สัญญาณอันตราย...ฮาร์ดดิสก์ใกล์พัง
หากคุณพบอาการต่อไปนี้ ควรรีบปิดเครื่องและนำไปส่งที่ศูนย์หรือร้านรับซ่อมที่ไว้ใจได้ทันทีไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้ปัญหาลุกลามใหญ่โตและอาจจะทำให้ข้อมูลที่สำคัญสูญหายได้

ฮาร์ดดิสก์มีเสียงดังติ๊กๆ ต่อเนื่อง
หากเราใช้งานโน้ตบุ๊คแล้วได้ยินเสียงดังติ๊กๆ ลักษณะคล้ายกับเสียงนาฬิกาที่ดังมาจากฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊ค สาเหตุเกิดจากตัวขับเคลื่อนจานหมุนชำรุด หัวอ่านติดขัดหรือกระแทกกับจานหมุน ทิ้งไว้นานอาจทำให้ข้อมูลเสียหายได้

ฮาร์ดดิสก์ร้อนเร็ว
หลังจากใช้งานโน้ตบุ๊คไม่นานจะพบว่า ฮาร์ดดิสก์มีอุณหภูมิสูงอย่างรวดเร็ว (ปกติตำแหน่งของฮาร์ดดิสก์ในโน้ตบุ๊คจะอยู่ใต้อุ้งมือซ้าย) เพราะปกติฮาร์ดดิสก์จะมีอุณหภูมิสูงในช่วงที่อ่านหรือเขียนข้อมูลมากๆ ถ้าแค่เปิดเครื่องแล้วร้อนมากๆเป็นสัญญาณเตื่อนได้ว่าฮาร์ดดิสก์อาจมีปัญหาได้เช่นกัน

โน้ตบุ๊คแฮงค์บ่อย
เคยใช้งานโน้ตบุ๊คไปสักพักแล้วเกิดอาการเครื่องค้างไม่สามารถกดปุ่มใดๆ ได้เลย สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการทำงานของฮาร์ดดิสก์ที่ไม่ปกติ

ฮาร์ดดิสก์ใช้เวลานานกว่าจะพร้อมใช้งาน
ฮาร์ดดิสก์ของคุณใช้เวลาในการบู๊ตเข้า windows นานเกินไปหรือเปล่า ทั้งนี้อาการอารเกิดจากการที่ต้องโหลดโปรแกรมเริ่มต้นการทำงานหลายตัว แต่ก็ไม่น่าใช้เวลานานเกินกว่าสองนาที ถ้าเกินกว่านั้นอาจเป็นไปได้ว่า เกิดจากการอ่านหรือเขียนข้อความที่ผิดพลาดบนฮาร์ดดิสก์อยู่ก็ได้

สร้างพาร์ติชันไม่ได้
ปกติเราจะแบ่งพาร์ติชันต่างๆ ไว้ก่อนที่จะลง windows อยู่แล้วแต่คุณก็สามารถที่จะแบ่งพาร์ติชันเพิ่มเติมได้อีก ด้วยการใช้โปรแกรม เช่น Partition Magic เมื่อเราแบ่งเพิ่มแล้วแต่แบ่งไม่ได้ สาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เสียหาย หรือแผ่นจานหมุนในฮาร์ดดิสก์ชำรุด (ฮาร์ดดิสก์ 1 ลูก สามารถแบ่งพาร์ติชันได้สูงสุด 4 พาร์ติชันเท่านั้น)

วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊ค

ฮาร์ดดิสก์จัดได้ว่าเป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้ฌน้ตบุ๊คนิยมเปลี่ยนมากที่สุด (รองจากแรม) เนื่องด้วยความจุที่มากับตัวเครื่องอาจจะไม่เพียงพอต่อการเก็บข้อมูล รวมถึงความเร็วในการส่งข้อมูลไปยังส่วนต่างๆของระบบ หากฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งในโน้ตบุ๊คมีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูง ก็จะทำให้โน้ตบุ๊คของเรามีประสิทธิภาพในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊ค
ก่อนจะไปรู้วิธีเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ด้วยตัวเองนั้น คุณควรรู้จักข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊คให้ดีเสียก่อน เพื่อที่ว่าเวลาเลือกซือ้ฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่มาเปลี่ยนแทนฮาร์ดดิสก์ลูกเดิม จะทำให้สามารถใช้งานต่อเนนื่องได้ราบรื่น ไร้ปัญหากวนใจ

ความจุของฮาร์ดดิสก์
ความจุของฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันจะใช้หน่อย GB หรือที่เรียกกันติดปากว่า "กิ๊กกะบิท" หน่วยความจุ 1 GB จะเท่ากับ 1,024 MB เทียบกับไฟล์ MP3 ได้เฉลี่ย 300 เพลง เป็นต้น



ขนาดความจุมาตราฐานของฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊คจะเริ่มที่ประมาณ 160 GB, 250 GB ไปจนถึงระดับ 640 GB ซึ่งถือเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดความจุสูงสุดมากสำหรับโน้ตบุ๊คในปัจจุบัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้สามารถจัดเก็บไฟล์เพลง ภาพยนตร์ความละเอียดสูง หรือเกมได้มากขึ้นนั่นเอง

ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊ค
เมื่อพูดถึงเรื่องของความจุฮาร์ดดิสก์ สิ่งที่คุณควรรู้ต่อมาคือเรื่องของความเร็วรอบหรือ rpm ซึ่งมักจะพบต่อท้ายข้อมูลฮาร์ดดิสก์ตามโบรชัวร์โฆษณาโน้ตบุ๊ค ตัวเลขที่อยู่ด้านหน้า rpm หมายถึงความเร็วรอบต่อนาที ในปัจจุบันโน้ตบุ๊คส่วนใหญจะมีความเร็วรอบ  5,400 rpm ขณะฮาร์ดดิสก์สำหรับเครื่องเดสก์ทอปจะมีความเร็วรอบอยู่ที่ 7.200 rpm

ความเร็วรอบยิ่งสูงก็หมายถึงฮาร์ดดิสก์จะสามารถทำงานได้เร็วขึ้น เพราะมีอัตราเร็วในการอ่านและค้นหาข้อมูล รวมถึงการเรียกใช้ข้อมูลต่างๆ มากขึ้น นอกจากนี้ผู้ผลิตโน้ตบุ๊คบางยี่ห้อเลือกนำฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วรอบ 7,200 rpm มาให้ในโน้ตบุ๊ค เช่น HP, Compaq เป็นต้น

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์
          แม้ว่าความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊คที่สูงถึง 7,200 rpm จะช่วยให้ทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ก็มีข้อเสียที่คุณควรพิจารณาเมื่อต้องการอัพเกรดฮาร์ดดิสก์คือ เรื่องของความร้อนและอัตราการกินไฟที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมเพราะยิ่งฮาร์ดดิสก์ทำงานเร็วขึ้นเท่าไร ก็หมายถึงว่าโน้ตบุ๊คของคุณจะมีความร้อนเพิ่มขึ้นและใช้งานได้สั้นลงเท่านั้น

รู้จักแรมโน้ตบุ๊คกันก่อน

แรมคือ?
แรมเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ถูกติดตั้งในโน้ตบุ๊คทุกเครื่อง เพื่อทำหน้าที่สำรองข้อมูลก่อนส่งให้ซีพียูประมวลผล ยิ่งโน้ตบุ๊คของคุณมีแรมมากเท่าไร ก็จะช่วยให้การทำงานต่างๆราบรื่นรวดเร็วขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะการเปิดโปรแกรมหรือเกมต่างๆ

หน้าตาของแรมในโน้ตบุ๊ค
          ปกติแรมจะมีลักษณะเป็นแผง ทำให้มักเรียกกันว่า "แผงแรม" โดยแต่ละแผงจะประกอบไปด้วยซิปแรม ซึ่งซิปแต่ละตัวก็จะมีขนาดความจุเท่าๆกัน เริ่มที่ 64 MB, 128 MB ไปจนถึง 256 MB ทั้งนี้ซิปแรมจะสามารถติดตั้งได้สูงสุด 8 ตัว (บนแผงแรมทั้ง 2 ด้าน)


ปัจจุบันแรมที่มีขนาดความจุ 2 GB ต่อแถว หมายถึงแรมแถวดังกล่าวถูกติดตั้งซิปแรมขนาด 256 MB จำนวน 8 ตัวเอาไว้บนแผงแรมนั่นเอง

แรมโน้ตบุ๊คมีกี่ประเภท
แรมสำหรับโน้ตบุ๊คแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ แรมแบบ DDR2 และแรมแบบ DDR3 โดยแรม DDR2 เป็นแรมที่ถูกใช้ในในโน้ตบุ๊คที่ผลิตในช่วง 2-3 ปีให้หลัง ขณะที่แรม DDR3 เป็นแรมรุ่นใหม่ที่เพิ่งพบเห็นในโน้ตบุ๊คครั้งแรกในปี 2009 และคาดว่าจะเข้ามาแทนที่แรม DDR2 ในปี 2010 อย่างแน่นอน

แรม DDR2 ที่กำลังจะกลายเป็นอดีต
          แรมแบบ DDR2 ที่ถุกใช้มานานนั้น จะมีความเร็วบัสแรมอยู่ที่ 667 MHz, 800 MHz หรือสูงสุดที่ 1,066 MHz (พบเห็นได้น้อยหรือเป็นรุ่นพิเศษเทย่านั้น) มีอัตรากินไฟอยู่ที่ 2.5 โวลต์ ถูกนำมาใช้ในโน้ตบุ๊คที่ติดตั้งซีพียู Intel ตระกูล Core 2 Duo/Pentium Dual  Core/Celeron Dual Core และซีพียู AMD เกือบทุกตระกูล

นอกจากนี้แรม DDR2 ยังคงเป็นแรมหลักที่ถูกนำไปใช้ในโน้ตบุ๊ค ซึ่งติดตั้งซีพียูพิเศษอย่าง Intel Atom หรือ AMD Turion Neo X2 อีกด้วย (คาดว่าแรมแบบ DDR2 จะพบเฉพาะในโน้ตบุ๊คเป็นหลัก)

แรม DDR3 รุ่นใหม่ล่าสุดที่กำลังกลายเป็นมาตรฐาน
          แรม DDR3 ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจาก DDR2 โดยเพิ่มความเร็วบัสขึ้นมาอยู่ที่ 1,066 MHz, 1,333 MHz และสูงสุดที่ 1,600 MHz เพื่อรองรับซีพียูตระกูลใหม่ของ Intel อย่าง Intel Core i7/i5/i3 เป็นต้น จุดเด่นอีกประการของแรม DDR3 คือ ลดอัตรากินไฟลงเหลือเพียง 1.8 โวลต์ ทำให้ช่วยยืดอายุการใช้งานโน้ตบุ๊คได้เล็กน้อย

วิธีสังเกตแรม DDR2 และ DDR3 ด้วยตัวเอง
          แรมแบบ DDR2 และ DDR3 จะแตกต่างกันในส่วนของร่องบากบนตัวแรมซึ่่งต้องพอดีกับสล็อตเสียบแรมภายในโน้ตบุ๊ค โดยแรม DDR2 จะมีร่องบากค่อนไปทางมุมของแผงแรม ขณะที่แรม DDR3 จะมีร่องบากค่อนไปทางจุดกึ่งกลางของแผงแรม

จุดนี้คุณควรจะสังเกตุให้ดีเมื่อต้องการอัพเกรดแรมด้วยตัวเองว่า แรมที่ซื้อมาอัพเกรดนั้นเป็นแรมประเภทใดกันแน่

แรม DDR3 ติดตั้งร่วมกับ DDR2 ได้หรือไม่
แม้ว่าแรม DDR3 จะเป็นแรมรุ่นใหม่ที่มีจุดเด่นในเรื่องราวความเร็วและการกินไฟต่ำกว่า แต่คุณไม่สามารถนำแรมแบบ DDR3 ไปติดตั้งในโน้ตบุ๊คที่ใช้แรมแบบ DDR2 ได้ เนื่องจากลักษณะของแรมทั้ง 2 ประเภทไม่เหมือนกัน (ร่องบากไม่ตรงกัน) หากพยายามติดตั้งอาจทำให้สล็อตเสียบแรมเสียหาย รวมถึงวงจรต่างๆ ในโน้ตบุ๊คได้รับความเสียหายจนไม่สามารถใช้งานต่อได้

โน้ตบุ๊คที่มีแรมเยอะๆดีอย่างไร
เหตุผลหลักของการเพิ่มแรมก็คือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับโน้ตบุ๊ค และยังช่วยยืดอายุในการใช้งานโน้ตบุ๊ค เจ้าของโน้ตบุ๊คหลายเครื่องมักจะเพิ่มแรมหรือเรียกว่าการอัพเกรดแรม ช่วยให้โน้ตบุ๊คทำงานได้รวดเร็วขึ้น และใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนานกว่าเดิมเล็กน้อย

เกมขับรถที่ต้องใช้ความต้องการแรมสูง
ทั้งนี้ก็เพราะเมื่อโน้ตบุ๊คมีแรมมากขึ้นจะช้วยให้ดึงข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์มาเก็บไว้ได้มากขึ้น ทำให้ลดเลวาในการทำงานของซีพียูลง ผลลัพธ์ที่ได้คือคุณจะพบว่าการโหลดข้อมูลหรือเกมต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นตามไปด้วย

แรมโน้ตบุ๊คใส่เท่าไรถึงจะพอดี
ก่อนอื่นคุณต้องตรวจสอบว่าเน้นการใช้งานโน้ตบุ๊คด้วยโปรแกรมลักษณะใด และมีระบบปฏิบัติการอะไรติดตั้งอยู่ หากคุณติดตั้ง windows xp ก็อาจจะใช้แรมเพียง 1 GB เพื่อท่องเว็บไซต์ พิมพ์งาน ฟังเพลง อย่างลื่นไหล แต่หากใช้ windows เวอร์ชั่นใหม่กว่าอย่าง Vista หรือ 7 คุณควรติดตั้งแรมอย่างน้อย 2 GB ขึ้นไป เป็นต้น
  


สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้โน้ตบุ๊คทำงานหนักๆ อาทิ การตัดต่อวีดีโอ แต่งรูปถ่ายดิจิตอล หรือการออกแบบภาพจำลอง 3 มิติ รวมถึงการเล่นเกมใหม่ๆ คุณอาจจำเป็นต้องเพิ่มแรมให้สูงขึ้นไปถึง 3 GB เป็นอย่างน้อย รวมมถึงหากคุณเป็นนักพัฒนาโปรแกรมจำเป็นต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการเสมือนผ่านโปนแกนมจำลองระบบปฏิบัติการ ก็อาจต้องอัพเกรดแรมไปเป็น 4 GB เป็นต้น

ดีวีดีก็อ่านไม่ได้ ไรท์ซีดีอย่างไรก็ไรก็ไม่ติด




ผู้ใช้โน้ตบุ๊คบางรายนิยมเช่าแผ่นหนังจากร้านเช่าวิดีโอมาดูทีละหลายๆเรื่องหลายๆแผ่น เมื่อดูทั้งหมดไม่ทันนึกอยากจะก๊อปปี้แผ่นหนังเหล่านั้นเอาใว้ดูในภายหลัง แต่ไดรว์อ่าน CD/DVD เจ้ากรรมดันไรท์ไม่ดี เดี๋ยวไม่ติด ทำให้ต้องหัวเสียอยู่บ่อยครั้ง

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่พบเจอกับเหตุการณ์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นใส้แผ่น CD/DVD แล้วเครื่องไม่ยอมเล่นแผ่นหนัง/เพลงแล้วดูไม่ได้ในบล็อกแห่งนี้จะบอกคุณทุกอย่างที่คุณอยากรู้ใว้หมดแล้ว

ปัญหาที่ว่าด้วยเรื่องของแรม




แรมเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มความเร็วในการโหลดโปรแกรมหรือเกม ยิ่งโน้ตบุ๊คของคุณมีแรมมากเท่าไรก็จะช่วยเพิ่มความสามารถในการโหลดเกมหรือโปรแกรมได้รวดเร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น โดยปกติเมื่อคุณซิ้อโน้ตบุ๊คเครื่องใหม่ จะพบว่าผู้ผลิตมักจะติดตั้งแรมมาให้แล้ว ซึ่งอาจเป็น 1 GB, 2GB แล้วแต่ยี่ห้อ/รุ่นและราคาของโน้ตบุ๊คที่คุณซือ

แต่เมื่อมีโปรแกรมหรือเกมส์ใหม่ฟๆ ออกมา ก็อาจหมายถึงความต้องการพื้นฐานของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้ผู้ใช้โน้ตบุ๊คอาจจำเป็นต้องอัพเกรดหรือเพิ่มแรมให้สูงขึ้น

ฮาร์ดดิสก์ใกล้เต็ม ไม่พอใช้งาน
ต่อจากแรมก็มักจะได้ยินเรื่องของฮาร์ดดิสก์ ที่หลังการใช้งานมานานๆฟ ไฟล์นั้นก้อยากเก็บ ไฟล์นี้ก็ลบไม่ได้ ทำให้ขนาดพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ลดต่ำลงไป จนท้ายที่สุดก็เต็ม ไม่สามารถติดตั้งโปรแกรม เกมหรือแม้แต่เก็บไฟล์หนัง ไฟล์เพลงเพิ่มได้อีก



บ่อยครั้งที่ผู้ใช้โน้ตบุ๊คซึ่งต้องการเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ มักจะนำโน๊ตบุ๊คไปให้ช่างประจำร้านซ้อมคอมเปลี่ยนให้ แต่หากอยากรู้ว่าฮาร์ดดิสก์เปลี่ยนอย่างไรให้ไปดูที่

โน๊ตบุ๊คกับปัญหาที่พบบ่อย

   

โน๊ตบุ๊คกับปัญหาที่พบบ่อย


 ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับโน๊ตบุ๊ค จะแบ่งออกเป็นปัญหาอาร์ดแวร์ เช่น แรม ฮาร์ดดิสก์ หรือไดรว์ CD/DVD และปัญหาซอฟต์แวร์ เช่น ปัญหา windows ปัญหาไวรัส หรือปัญหาเกี่ยวกับไฟล์ข้อมูลต่างๆ ซึ่งปัญหาด้านซอฟต์แวร์นั้น ส่งนใหญ่คุณจะสามารถแก้ไขจัดการปัญหาเหล่านั้นด้วยตัวเองทั้งหมด

ขณะที่ปัญหาด้านฮาร์ดแวร์นั้น จะมีทั้งแบบเบาๆ อย่างการอัพเกรดอุปกรณ์จนไปถึงเรื่องหนักๆ เช่น อุปกรณ์เสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป ทำให้ต้องเปลี่ยนอะไหล่ชิ้นใหม่ เป็นต้น แต่ก่อนอื่นคุณควรรู้ก่อนว่าปัญหาใด ควรแก้ไม่ควรแก้ด้วยตัวเอง