นอกจากนี้ใน Safe Mode ยังเปิดโอกาสให้คุณกู้คืนไฟล์หรือกู้คืนระบบที่เกิดปัญหาผ่านโปรแกรมเสริมที่ Windows เตรียมไว้ให้ เช่น System Restore หรือ Backup and Restore ได้อีกต่างหากขั้นตอนในการเข้าสู่ Safe Mode นั้น คุณจะต้องกดปุ่ม <F8> หลังจากที่เห็นหน้าจอแรกเมื่อกดปุ่มเปิดเครื่อง (ก่อนที่จะเห็นโลโก้ Windows) จากนั้นให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. กดปุ่ม <ลูกศรลง> เพื่อเลือก Safe Mode
2. กดปุ่ม <Enter> ที่คีย์บอร์ด
3. คลิกเลือกบัญชีผู้ใช้ที่ต้องการ
4. หน้าเดสก์ทอปของ Safe Mode จะไม่ปรากฎเอฟเฟ็กต์หรือแอนิเมชันใดๆMEMO : ตัวเลือกอื่นๆที่น่าสนใจ
ในหน้าจอตัวเลือก Safe Mode จะพบกับตัวเลือกอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น Safe Mode with Networking สำหรับเข้าสู่ Safe Mode พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Safe Mode with Command Prompt ซึ่งเป็นการเข้า Safe Mode พร้อมเรียกใช้คำสั่งผ่าน Command Prompt หรือ Last Known Good Configuration (advanced) ซึ่งระบบจะพยายามเรียกคืนค่าก่อนเกิดความเสียหาย (ผู้เขียนแนะนำให้คุณลองเลือกตัวเลือกนี้เพื่อพยายามแก้ปัญหาควบคู่กันไป)
เข้าใช้ Windows XP ไม่ได้
หากระบบปฏิบัติการของผู้ใช้เกิดปัญหาหนักจนไม่สามารถบู๊ตเขข้าสู่ Windows แบบปกติได้ ผู้เขียนแนะนำให้ผู้ใช้ลองพยายามล็อกออนเข้าสู่ Windows ในแบบ Safe Mode ซึ่งจะเป็นโหมดที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้เหมือนกับการเข้าสู่ Windows แบบปกติ แต่จะไม่มีการเรียกไดรเวอร์หรือโปรแกรมที่ถูกติดตั้งเข้าไปขึ้นมา จะมีเฉพาะไดรเวอร์พื้นฐานที่มาพร้อมตัวระบบปฏิบัติการเท่านั้น
สำหรับขั้นตอนในการเข้าสู่ Safe Mode ก็คือการกดปุ่ม <F8> หลังจากที่ผ่านหน้าจอ BIOS เรียบร้อยแล้ว จากนั้นคลิกเลือก Safe Mode เพื่อเข้าสู่ Windows ต่อไป โดยขั้นตอนต่างๆ จะคล้ายกับการล็อกออนเข้าสู่ Windows แบบปกติ แต่อินเทอร์เฟสจะเปลี่ยนเป็นธีมดีฟอลต์ เหมือนกับใน Windows 7/Vista แบบ Safe Mode
MEMO : ตัวเลือกอื่นๆที่น่าสนใจ
Safe Mode with Networking จะเป็นการเข้าสู่ Windows พร้อมกับอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ในขณะที่ Safe Mode with Command Prompt จะเป็นการเรียกแผงควบคุม ซึ่งต้องใช้ความรู้ทางภาษาคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง (เหมาะกับผู้ดูแลระบบ)
แก้ปัญหาไฟล์สำคัญระหว่างบู๊ตเครื่องสูญหาย
ไฟล์สำคัญระหว่างบู๊ตเครื่องสูญหายอาจเกิดขึ้นได้มากหลายสาเหตุ เช่น กดปุ่มปิดเครื่องค้างไว้จนเครื่องดับ (ไม่ได้ซัตดาวน์) ไฟฟ้าดับระหว่างที่เครื่องทำงานอยู่หรือถูกไวรัสเล่นงาน เป็นต้น
ปกติแล้วเมื่อคุณเปิดเครื่องใหม่ จะพบว่าไม่สามารถเข้าสู่หน้าจอ Windows ได้ โดยจะมีข้อความแสดงความผิดพลาด เช่น NTLDR is missing และ Press Ctrl+Alt+Del to restart ซึ่งเมื่อกดปุ่ม Reset หรือ กดปุ่ม <Ctrl+Alt+Del> ก็จะเป็นเพียงการสั่งรีสตาร์ทเครื่องเท่านั้นเอง ยังไม่สามารถใช้งาน Windows ได้ตามปกติ หากคุณพบปัญหาดังกล่าว อย่าเพิ่งตกใจหรือนำเครื่องส่งไปร้านรับซ่อม แต่ให้ลองปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. นำแผ่นติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows เวอร์ชั่นที่คุณใช้งานอยู่ใส่เข้าไปในไดรว์ CD/DVD
2. ปรับลำดับการบู๊ตให้เริ่มจากไดรว์ CD/DVD ภายในเครื่องแทนฮาร์ดดิสก์ ดูวิธีได้ที่
3. กดปุ่ม <R> บนคีย์บอร์ด
4. ตรวจสอบว่าระบบปฏิบัติการ Windows ติดตั้งอยู่บนไดรว์ใด (โดยปกติจะติดตั้งบนไดรว์แรก เช่น ไดรว์ C:\WINDOWS ซึ่งเป็นไดรว์ลำดับที่ 1)
5. ใส่ตัวเลขไดรว์ที่ต้องการจะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows
6. พิมพ์รหัสผ่านสำหรับเข้าสู่ Windows (หากไม่มีรหัสผ่านให้กดปุ่ม <Enter>)
7. พิมพ์ dir d: (เปลี่ยนชื่อไดรว์ CD/DVD ภายในเครื่องของคุณ เช่น e: หรือ f: ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ที่คุณแบ่งเอาไว้)
8. พิมพ์ copy d:\i386\ntldr c:\ แล้วกดปุ่ม <Enter> (เปลี่ยนชื่อไดรว์ d: เป็นไดรว์ CD/DVD ภายในเครื่องของคุณ)
9. พิมพ์ <y> แล้วกดปุ่ม <Enter> เพื่อยืนยันการคัดลอกข้อมูล
10. พิมพ์ copy d:\i386\ntdetect.com c:\ แล้วกดปุ่ม <Enter>
11. พิมพ์ <y> แล้วกดปุ่ม <Enter> เพื่อยืนยันการคัดลอกข้อมูล
12. กดปุ่ม <Ctrl+Alt+Del> หรือพิมพ์ restart เพื่อรีสตาร์ทเครื่องเมื่อคุณได้แก้ไขข้อผิดพลาดเสร็จแล้ว หลังจากที่รีสตารืทเครื่อง ไม่ต้องกดปุ่มใดๆ เพื่อบู๊ตจากแผ่น เพื่อให้ระบบเรียกบู๊ตจากฮาร์ดดิสก์ตามปกติ ซึ่งจะสามารถเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows ได้ทันที
MEMO : คำสั่งอื่นๆ ที่น่าสนใจในการแก้ปัญหาเข้า Windows ไม่ได้
นอกจากการแก้ปัญหาไฟล์ NTLDR สูญหายแล้ว หากคุณยังเข้าสู่ Windows ตามปกติไม่ได้ ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนข้างต้นจนถึงขั้นตอนที่ 6 จากนั้นให้พิมพ์ FIXBOOT (แล้วกดปุ่ม <Enter>) และ FIXMBR (แล้วกดปุ่ม <Enter>) เพื่อให้ Windows ได้แก้ไขความผิดพลาดในส่วนของไฟล์สำคัญระหว่างการบู๊ตเครื่องให้ถูกต้องโดยอัตโนมัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น